ระบบเครือข่ายดาวเทียม iPSTAR

ระบบเครือข่ายดาวเทียม iPSTAR

เครือข่ายสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงผ่านดาวเทียมระบบ iPSTAR

iPSTAR เป็นระบบเครือข่ายดาวเทียมที่สามารถให้บริการบรอดแบนด์ (Broadband) แบบ 2 ทาง บน Internet Protocol (IP) Platform เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง รวมถึงการใช้การประยุกต์ใช้งานอื่น ๆ บน IP Platform , เช่นการต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต เป็นแบบ ‘Always on’ อุปกรณ์ปลายทางของ iPSTAR สามารถใช้ในการรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 8Mbps ในด้านรับ และ 2.5 Mbps ในด้านส่ง iPSTAR จึงสามารถรองรับการสื่อสารทั้งข้อมูล ภาพ และเสียงได้โดยไม่ถูกจำกัดด้วยความคับคั่งของข่ายสายภาคพื้นดิน และยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่เครือข่าย IP จากที่ใด ๆ ก็ได้ในกรณีที่ข่ายสายภาคพื้นดินยังไปไม่ถึง ผู้ใช้สามารถใช้ iPSTAR ร่วมกับการประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาผ่านอินเตอร์เน็ต (E-learning) การถ่ายทอดสด (Live broadcast) การเลือกรับชมรายการวิดีทัศน์ตามความต้องการ (Video on demand) การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียม (Video Conference) คอมพิวเตอร์เกม (Interactive computer games) การดาวน์โหลดข้อมูล และอื่น ๆ ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลด้วยอุปกรณ์ปลายทางของ iPSTAR สามารถกำหนดได้ สอดคล้องกับความต้องการของการใช้งาน และเพื่อให้การใช้แบนด์วิดท์ (Bandwidth) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

เครือข่าย iPSTAR ใช้โครงสร้างการรับส่งข้อมูลแบบ TCP/IP ซึ่งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้การรับส่งข้อมูลในรูปแบบนี้ ซึ่งสามารถส่งผ่านข้อมูล ภาพ เสียง ให้ความสะดวกในการเชื่อมโยงระบบต่างๆเข้าหากัน การเข้ารหัส (Encoding) ที่ใช้เทคโนโลยีล่าสุด ทำให้จำนวนข้อมูลผ่านใช้ช่องสัญญาณน้อยลงที่ผ่าน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ช่องสัญญาณมากขึ้น และยังสามารถปรับเปลี่ยนการเข้ารหัสได้อย่างอัตโนมัติ ตามสภาวะแวดล้อม ทำให้การรับส่งข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นกว่าระบบอื่น และลดข้อจำกัดเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูลผ่านดาวเทียม ซึ่งมักมีปัญหาเรื่องค่าหน่วงเวลา (Delay Time) ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากระยะทางที่ห่างไกลของตัวดาวเทียม iPSTAR ได้ออกแบบในส่วนของ Protocol ที่จะส่งขึ้นดาวเทียมใหม่ ลดการ Acknowledge ที่เกิดจาก TCP/IP ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็วเหมือนกับการส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูงบนภาคพื้นดิน

เครือข่าย iPSTAR สามารถแบ่งการบริการออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้
1.1. แบบกำหนดช่องสัญญาคงที่ (Dedicated Bandwidth) เป็นการสื่อสารข้อมูลความเร็วแบบ 2 ทาง ที่มาการกำหนดความเร็วของแต่ละช่องสัญญาณอย่างคงที่และในแต่ละช่องสัญญาณจะใช้ร่วมกับอุปกรณ์ปลายทางเพียงหนึ่งสถานีเท่านั้น การให้บริการแบบนี้เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการมีการรับ-ส่งข้อมูลในปริมาณมาก และต้องการคุณภาพและความเร็วที่แน่นอน แต่มีค่าใช้จ่ายต่ำและไม่ขึ้นกับระยะทาง
1.2. แบบใช้ช่องสัญญาณร่วมกัน (Shared Bandwidth) เป็นบริการให้บริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงแบบ 2 ทางบน IP Platform ที่มีการใช้บริการในลักษณะของ Share Bandwidth โดยอุปกรณ์ปลายทางของผู้ใช้แต่ละรายจะทำการรับ-ส่งข้อมูลผ่านช่องสัญญาณรวมที่มีการขอใช้บริการไว้ ด้วยการออกแบบการบริหารจัดการช่องสัญญาณของระบบ iPSTAR ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ช่องสัญญาณร่วมกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเป็นอัตราส่วนการ Share Bandwidth ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้สำหรับการใช้งานในแต่ละประเภท นอกจากนี้ยังเพิ่มความสะดวกในการขยายเครือข่ายทั้งในแง่การเพิ่มจุดที่จะเข้ามาใช้งาน หรือขอขยายช่องสัญญาณในกรณีที่มีความต้องการในการใช้ช่องสัญญาณเพิ่มมากขึ้น

2. ลักษณะการทำงานของระบบ iPSTAR

ระบบ iPSTAR เป็นระบบเครือข่ายที่สามารถรองรับรูปแบบการให้บริการได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูล หรือการใช้งานทางด้านเสียง โดยระบบจะประกอบด้วยส่วนสถานีแม่ข่าย iPSTAR Gateway และ iPSTAR Network Terminal ในส่วนของสถานีแม่ข่าย สามารถทำการ Switching และ Routing เพื่อส่งผ่านสัญญาณข้อมูล เสียง และภาพ ให้กับ iPSTAR Network Terminal ที่อยู่ภายในเครือข่าย และควบคุมจัดการการใช้แบนด์วิดท์ ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบเครือข่าย iPSTAR ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักๆ คือ
1. สถานีแม่ข่าย (Hub Station) เป็นศูนย์กลางของเครือข่ายสัญญาณ รับ-ส่งข้อมูล กับสถานีลูกข่ายทั้งหมดที่อยู่ในระบบ ประกอบด้วย อุปกรณ์แปลงสัญญาณข้อมูลแบบ IP Packet ให้เป็นสัญญาณระบบดาวเทียม และแปลงกลับสัญญาณที่รับจากดาวเทียมให้เป็นข้อมูลแบบ IP Packet
2. สถานีลูกข่าย iPSTAR Network Terminal ใช้ต่อกับระบบของผู้ใช้สาขาปลายทาง
3. ศูนย์กลางจัดการเครือข่าย (Network Management Center) ซึ่งการทำงานและการจัดรูปแบบของ iPSTAR โครงสร้างของระบบ iPSTAR มีความยืดหยุ่น (Flexibility) สูง เนื่องจากเป็นระบบการจัดการเครือข่าย ที่มีประสิทธิภาพ สามารถเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์ (Parameter) ทั้งแบบอัตโนมัติ และ แบบกำหนดเอง ของแต่ละสถานีเพื่อใช้ควบคุมลักษณะการรับส่ง (Modulation type) กำลังส่ง และปริมาณการรับส่งข้อมูล โดยการปรับเปลี่ยนแปลงสามารถทำได้ง่ายและมีความปลอดภัยสูง โดยสามารถบริหารได้จากสถานีแม่ข่าย
4. ช่องสัญญาณ (Transponder) บนดาวเทียม ระบบ iPSTAR สามารถใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากระบบเครือข่ายสามารถใช้งานช่องสัญญาณร่วมกันภายในสถานีลูกข่ายที่กำหนด

3. รูปแบบการให้บริการของระบบ iPSTAR

ระบบเครือข่าย iPSTAR สามารถนำไปใช้ในการสามารถนำไปใช้ในการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงได้หลายรูปแบบ ได้แก่
• การรับ-ส่งข้อมูลสองทางแบบ Symmetric ที่ต้องการความเร็วของขารับและขาส่งใกล้เคียงกัน เช่น การประชุมทางไกล โทรศัพท์
• การรับ-ส่งข้อมูลสองทางแบบ Asymmetric ที่ต้องการความเร็วของขารับมากกว่าขาส่ง เช่น Multimedia Internet Access
• การรับข้อมูลทางเดียวแบบ Broadcast หรือ Multicast เช่น การศึกษาทางไกล

เครือข่าย iPSTAR ได้รับการออกแบบมาให้สามารถรองรับการสื่อสารทั้ง Data, Voice และ Video บน IP Platform ได้ที่ความเร็วสูงสุด 8 MBPS สำหรับด้านรับ และ 2.5 MBPS สำหรับด้านส่ง ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบที่นอกเหนือจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. ระบบโทรศัพท์บนเครือข่าย IP (Voice over IP)

การใช้ Voice ผ่านการสื่อสารข้อมูลแบบ IP เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ ระบบเครือข่ายที่นอกจากจะในการสื่อสารเฉพาะข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้งาน ที่ต้องการความแตกต่าง ตามลักษณะของการใช้งาน โดยระบบสามารถต่อเชื่อมเข้าได้กับโทรศัพท์ทั่วไป ทั้งเครือข่ายแบบ

ระบบ IPSTAR รองรับการใช้งานด้านเสียงหรือโทรศัพท์ โดยสามารถนำอุปกรณ์ปลายทางมาต่อเข้ากับ IP Phone โดยตรง หรือต่อเข้ากับ VoIP adapter สำหรับการใช้กับโทรศัพท์ทั่วไป โดยอุปกรณ์ปลายทางบน Form Factor นี้สามารถรองรับการใช้งานแบบอื่น ๆ บน IP นอกเหนือจาก Voice ได้ นอกจากนี้บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ปลายทางในแบบ Voice Box ที่สามารถนำไปใช้งานสื่อสารทางเสียงได้โดยตรง และรองรับการใช้งานได้หลายคู่สายต่อ Voice Box หนึ่งตัว

2. ระบบเครือข่ายส่วนตัว (Virtual Private Network)

ระบบดาวเทียม iPSTAR สามารถนำมาใช้ในการเชื่อมโยงสาขาต่าง ๆ ภายในเครือข่ายขององค์กรไปยังศูนย์ข้อมูลของสำนักงานใหญ่ผ่านสถานีเกตเวย์ของ iPSTAR โดยมีการเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสถานีเกตเวย์ด้วยวงจรเช่า ซึ่งการใช้งานระบบ VPN นั้น ตัวNetwork Terminal ของ iPSTAR สามารถที่จะรองรับFeature นี้โดยไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ VPN Client ภายนอกเพิ่มเติม ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดอุปกรณ์ปลายทาง และสามารถที่จะใช้งานร่วมกับ VPN Router หรือ VPN Concentrator ที่ใช้รูปแบบVPN มาตารฐาณ ดังแสดงในรูป

การนำ iPSTAR ไปใช้กับ VPN นี้ทำให้องค์การมีการนำช่องสัญญาณรวมไปใช้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพสูงสุด และประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากสามารถออกแบบการเช่าใช้ช่องสัญญาณรวมให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานจริงของทั้งองค์กร โดยแต่ละสาขาเข้าไปใช้ช่องสัญญาณได้เมื่อมีความต้องการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องสำรองเช่าไว้ให้ทุกสาขาซึ่งบางสาขาอาจมีความต้องการใช้งานน้อยมาก

3. ระบบ ส่งข้อมูลแบบ Broadcast (VDO-Audio Broadcast)

เป็นการให้บริการ แพร่สัญญาณภาพผ่านดาวเทียม ซึ่งเหมาะสำหรับทางลูกค้า ที่มีความต้องการทำการฝึกอบรมภายในองค์กร ซึ่งการแพร่สัญญาณภาพผ่านดาวเทียมแบบ Multicast ทำให้ผู้ใช้บริการที่มีจำนวนสาขามาก สามารถฝึกอบรมพนักงานได้พร้อมกันทุกสาขาทั่วประเทศ และผู้ที่เข้าอบรมยังสามารถติดต่อแบบ Interactive กลับมายังต้นทางโดยผ่านช่องสัญญาณที่เป็นแบบ Two way โดยใช้อุปกรณ์ เช่น Voice หรือ FAX ได้

ขอบคุณที่มา :

http://server.telecomth.com/communications.php

NO COMMENTS

Leave a Reply

*